Home » การปรับตัวของเกษตรกรไทยในยุคดิจิทัล ทักษะและเครื่องมือใหม่
1.การปรับตัว

การปรับตัวของเกษตรกรไทยในยุคดิจิทัล ทักษะและเครื่องมือใหม่

82 views

การเกษตรเป็นแหล่งสร้างรายได้สำคัญให้แก่ประชากรจำนวนมากของประเทศไทย และเป็นรากฐานสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของไทยมาอย่างยาวนาน จากเริ่มต้นด้วยการใช้แรงคนในการทำนา และมีการนำเครื่องจักรมาใช้ทุ่นแรงในการเพาะปลูก

ปัจจุบันการเกษตรของไทยมีการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลเข้ามาประยุกต์ใช้ เพื่อเพิ่มศักยภาพการผลิต และลดการสูญเสีย

เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล ที่เกษตรกรไทยเลือกใช้  เพื่อปรับตัวเข้าสู่ยุคดิจิทัล 

1. ระบบ IoT Sensor สำหรับวัดความชื้นในดิน เพื่อตรวจสอบค่าข้อมูลความชื้นในดินของพืชที่ปลูก

2.ระบบให้น้ำแบบแม่นยำอัจฉริยะ เป็นระบบที่นำมาใช้เพื่อควบคุมการให้น้ำอย่างแม่นยำตรงตามความต้องการของพืช ส่งผลให้เกิดการเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพ และเกิดการประหยัดแรงงานและน้ำ

3. ระบบให้น้ำแบบโซล่าปั๊ม เป็นการนำโซล่าเซลล์เชื่อมต่อกับปั๊มน้ำ เพื่อสูบน้ำมาเก็บไว้ใบบ่อ หรือจ่ายน้ำไปยังแปลงเกษตรได้

4. เครื่องผสมปุ๋ยอัตโนมัติ เป็นการผสมสูตรปุ๋ยตามโปรแกรมที่ตั้งค่าได้อัตโนมัติ

5. สถานีตรวจวัดสภาพอากาศ (Weather Station) เป็นการวัดสภาพอากาศ เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยหลักในแปลงเพาะปลูก แล้วนำมาวางแผนพยากรณ์ผลผลิตที่จะปลูกในฤดูกาลนั้นๆ เช่น วัดความชื้น ความเร็วลม ทิศทางลม ความเข้มแสง ปริมาณน้ำฝน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะเป็นข้อมูลในการวิเคราะห์ปัจจัยในการผลิต และประมวลผลเพื่อคาดคะเน

2.การปรับตัว

เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลด้านเกษตร มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง

เนื่องจากช่วยลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคและช่วยให้การผลิตมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ยังช่วยลดการใช้งานแรงงานและทรัพยากรที่จำกัด เช่น น้ำและปุ๋ย

ทั้งนี้ เกษตรกรไทยยุคใหม่สามารถเรียนรู้และนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้ได้ง่ายดาย และมีการพัฒนาหุ่นยนต์ในการเกษตรขึ้นอย่างมาก ซึ่งหุ่นยนต์เหล่านี้มีความสามารถในการแทนที่มนุษย์ในกระบวนการเกษตรหลายขั้นตอน เช่น การหว่านเมล็ด การรดน้ำ การใส่ปุ๋ย และการเก็บเกี่ยว โดยมีความแม่นยำและปลอดภัยมากยิ่งขึ้น การใช้หุ่นยนต์ในการเกษตรยังช่วยลดการใช้งานพลังงานและลดการปนเปื้อนสารเคมีในดิน ซึ่งเป็นประโยชน์ที่สำคัญในการสร้างสิ่งแวดล้อมที่มีความยั่งยืนในการเกษตรไทยในระยะยาว หุ่นยนต์เพื่อการเกษตรหลายชนิดสามารถใช้พลังงานจากแสงอาทิตย์ซึ่งเป็นอีกทางหนึ่งที่สามารถช่วยลดภาวะโลกร้อน

3.การปรับตัว

ขณะที่หุ่นยนต์บางชนิดสามารถควบคุมปริมาณการใช้น้ำและปริมาณการใช้ยากำจัดแมลง และกำจัดวัชพืชอย่างเหมาะสม มีความต้องการ เพื่อทดแทนแรงงานคน และแก้ไขข้อจำกัดของมนุษย์ที่ไม่สามารถทำได้ในการเพาะปลูก เช่น การมีความแม่นยำ การสร้างความปลอดภัยตลอดห่วงโซ่การผลิตตั้งแต่เกษตรกรจนถึงมือผู้บริโภค เพราะช่วยลดความเสี่ยงจากการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ตั้งแต่การปลูก เก็บเกี่ยว การบรรจุ ไปจนถึงมือผู้บริโภค ซึ่งในปัจจุบันประเทศสหรัฐอเมริกา กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป ประเทศออสเตรเลีย และประเทศญี่ปุ่น ได้นำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ในกระบวนการทำเกษตร และคาดการณ์ว่าภายในปี พ..2568 จำนวนการใช้หุ่นยนต์เพื่อเกษตรกรรมจะมีจำนวนเพิ่มขึ้น ซึ่งคาดว่าจะก่อให้เกิดมูลค่าตลาดหุ่นยนต์เพื่อการเกษตรสูงถึง 7.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 26.27 จากปี พ..2562 

แหล่งที่มา : https://www.depa.or.th/th/article-view/adaptation-of-Thai-farmers-to-the-digital-age

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลที่มีประโยชน์ด้านการทำงานในอุตสาหกรรม สามารถหาข้อมูลได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย