Home » ที่อับอากาศ คืออะไร รู้ถึง : ข้อควรระวัง ก่อนเข้าทำงานในที่อับอากาศ
ที่อับอากาศหมายถึงอะไร

ที่อับอากาศ คืออะไร รู้ถึง : ข้อควรระวัง ก่อนเข้าทำงานในที่อับอากาศ

737 views

ที่อับอากาศ คือ พื้นที่อันตรายมีอากาศน้อย และ มีอันตรายจากสารเคมีและสารพิษ

สถานที่ทำงานหลายแห่งมีพื้นที่ที่เป็น พื้น ที่อับอากาศ confined space แม้ว่าพื้นที่ดังกล่าวไม่ได้ออกแบบมาสำหรับให้คนเข้าไปแต่ก็มีขนาดใหญ่พอที่จะให้คนงานเข้าไปทำงานได้ พื้นที่อับอากาศยังมีทางเข้าหรือออกที่จำกัดและไม่ได้ออกแบบมาสำหรับการเข้าไปอยู่อย่างต่อเนื่องโดย OSHA ใช้คำว่า “พื้นที่จำกัดที่ต้องได้รับอนุญาต”

Confined-Space

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นพื้น ที่อับอากาศ

“ที่อับอากาศ” (Confined Space) หมายความว่า ที่ซึ่งมีทางเข้าออกจำกัดและไม่ได้ออกแบบไว้สำหรับเป็นสถานที่ทำงานอย่างต่อเนื่องเป็นประจำ และมีสภาพอันตรายหรือมีบรรยากาศอันตราย เช่น อุโมงค์ ถ้ำ บ่อ หลุม ห้องใต้ดิน ห้องนิรภัย ถังน้ำมัน ถังหมัก ถัง ไซโล ท่อ เตา ภาชนะ หรือสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน

“สภาพอันตราย” หมายความว่าสภาพหรือสภาวะที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากการทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • มีวัตถุหรือวัสดุที่อาจก่อให้เกิดการจมของลูกจ้างหรือถมทับลูกจ้างที่เข้าไปทำงาน
  • มีสภาพที่อาจทำให้ลูกจ้างตก ถูกกัก หรือติดอยู่ภายใน
  • มีสภาวะที่ลูกจ้างมีความเสี่ยงที่จะได้รับอันตรายจากบรรยากาศอันตราย
  • สภาพอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่อธิบดีประกาศกำหนด

สภาพอันตราย-ในที่อับอากาศ

“บรรยากาศอันตราย” หมายความว่า สภาพอากาศที่อาจทำให้ลูกจ้างได้รับอันตรายจากสภาวะอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้

  • มีออกซิเจนต่ำกว่าร้อยละ 19.5 หรือมากกว่าร้อยละ 23.5 โดยปริมาตร
  • มีก๊าซ ไอ หรือละอองที่ติดไฟหรือระเบิดได้ เกินร้อยละ 10 ของค่าความเข้มข้นขั้นต่ำของสารเคมีแต่ละชนิดในอากาศที่อาจติดไฟหรือระเบิดได้ (lower flammable limit หรือ lower explosive limit)
  • มีฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้ ซึ่งมีค่าความเข้มข้นเท่ากับหรือมากกว่าค่าความเข้มข้นขั้นต่ำสุดของฝุ่นที่ติดไฟหรือระเบิดได้แต่ละชนิด (minimum explosible concentration)
  • มีค่าความเข้มข้นของสารเคมีแต่ละชนิดเกินมาตรฐานที่กำหนดตามกฎกระทรวงว่าด้วยการกำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับสารเคมีอันตราย
  • สภาวะอื่นใดที่อาจเป็นอันตรายต่อร่างกายหรือชีวิตตามที่อธิบดีประกาศกำหนด (นิยาม ตามกฎกระทรวง กำหนดมาตรฐานในการบริหาร จัดการ และดำเนินการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัย และสภาพแวดล้อมในการทำงานเกี่ยวกับที่อับอากาศ พ.ศ. 2562)

หากต้องทำงานในพื้นที่อับอากาศต้องทำอย่างไร

หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยงการเข้าไปในพื้นที่อับกาศแต่หากไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ต้องมีการประเมินความเสี่ยงของพื้นที่อับอากาศและวางแผนการควบคุมความเสี่ยงนั้นว่าจะดำเนินการอย่างไรเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย เช่น

  • หากพื้นที่อับอากาศมีควันพิษ ต้องพิจารณาว่าจะระบายควันพิษหรือกำจัดควันพิษนั้นอย่างไร เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานโดยไม่ได้รับควันพิษนั้น
  • หากมีความเสี่ยงที่ของเหลวหรือก๊าซจะเข้ามาในพื้นที่การทำงานจะจัดการกับความเสี่ยงนั้นอย่างไร
  • หากมีคนเข้าไปในพื้นที่อับอากาศและมีออกซิเจนไม่เพียงพอให้หายใจ จะเตรียมเครื่องช่วยหายใจอย่างไร เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้อย่างปลอดภัย
  • การเตรียมความพร้อมในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉินต่างๆ การประเมินความเสี่ยง เป็นเรื่องที่สำคัญมากในงานอับอากาศ เพราะงานอับอากาศเป็นงานที่มีอันตรายสูงมาก หากมีการประเมินความเสี่ยง เราจะรู้ว่าในการทำงานนั้นๆ จะต้องเจอกับอันตรายอะไรบ้าง และกำหนดมาตรการควบคุม ป้องกัน เพื่อให้สามารถปฏิบัติงานได้ถูกต้องและอย่างปลอดภัย

ลักษณะอันตรายในงานอับอากาศ

อะไรคือ อันตรายในพื้นที่อับอากาศ

อันตรายในที่อับอากาศสามารถเกิดขึ้นได้ เช่น

  • ไฟไหม้หรือระเบิด เช่น จากไอระเหยที่ติดไฟ ออกซิเจนที่มากเกินไป
  • ฝุ่นที่มีความเข้มข้นสูง
  • สภาวะที่ร้อนทำให้อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้น
  • การขาดออกซิเจน
  • ก๊าซพิษ ควันหรือไอระเหย
  • ของเหลวหรือของแข็งที่สามารถปล่อยสารอันตรายได้
  • สารตกค้างที่อยู่ในพื้นที่อับอากาศ
  • การจมน้ำ
  • การถูกทับจากการพังทลาย
  • อันตรายจากการเชื่อม หรือจากการใช้สารเคมีในพื้นที่

นอกจากที่กล่าวมาข้างต้นอาจมีอันตรายแฝงอื่นๆ ที่อาจเกิดขึ้นในขณะที่ปฏิบัติงานในที่อับอากาศเพราะ อันตรายบางอย่างไม่ได้มีอยู่ตั้งแต่แรก แต่เกิดขึ้นในระหว่างที่มีการทำงาน

สรุป

งานในพื้นที่อับอากาศ เป็นงานที่มีอันตรายสูงมาก ทุกคนที่ทำงานในที่อับอากาศหรือผู้ที่เกี่ยวข้องกับงานอับอากาศ จะต้องได้รับการฝึกอบรมที่อับอากาศ เพื่อให้มีความรู้ความเข้าใจในทักษะที่จำเป็นในการทำงานตามที่ กฎหมายอบรมที่อับอากาศ กำหนดไว้ ซึ่งหากนายจ้างสามารถอบรมเองได้ หรือ ให้นิติบุคคลที่ขึ้นทะเบียนตามมาตรา 11 เป็นผู้ฝึกอบรม ทั้ง 2 แบบนี้ถูกต้องตามกฎหมายเช่นกัน

เรื่องที่เกี่ยวข้อง

ข้อมูลที่มีประโยชน์ด้านการทำงานในอุตสาหกรรม สามารถหาข้อมูลได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย